การประกอบคอมพิวเตอร์

________________________________________________________________________________

จริงๆจะลงในGeneral Hardware แต่ดูแล้วที่นี่ เหมาะสมกว่า(ขออภัย หากผิดที่นะครับ)
เพราะว่า มีหลายๆท่าน ได้รับสเปกที่หลายๆท่านจัดมาให้ ก็เอาไปซื้อมาให้ร้านประกอบ ซึ่งหลายท่าน ประสบปัญหาที่ว่า ของในรายการเวลาไปซื้อจริงๆ ต้องซื้อจากหลายๆที่หลายร้าน บางร้านก็ประกอบให้แต่เครื่องที่ซื้อของจากทางร้านทั้งหมด เจ้าอื่นปนมาไม่ต่อให้ หรือคิดตังเพิ่ม และหลายๆท่าน กลัวว่า ประกอบแล้วไม่ทำงาน เปิดไม่ติด ของที่ซื้อมาจะพัง ฯลฯ จนเกิดความกลัว ไม่กล้าประกอบเอง ทั้งๆที่ใจมันอยากทำ วันนี้ ผมรื้อเครื่องบัญชีที่ร้านพอดีครับ เลยเอากล้องมาถ่ายเป็นช็อตๆมาให้หลายๆท่าน ศึกษาการประกอบเครื่อง ด้วยตนเอง

ข้อดีของการต่อ/ประกอบเครื่องเอง คือ
-เป็นการสะสมประสบการณ์ด้านฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ไปในตัว
-เราจะรู้เบื้องลึกของเครื่องคอม ที่เราจะต้องใช้มันไปอีกหลายปี
-การแก้ปัญหาในเครื่องตัวเอง จะทำได้ง่าย เพราะเราเคยประกอบมาแล้ว ถึงจะลืมวิธี แล้วมาถามท่านอื่นๆ(คนรู้จัก หรือในบอร์ดนี้)ท่านก็จะทำมันได้ง่ายขึ้น เพราะอย่างน้อยก็คุ้นๆละนะ ว่าเคยทำไง
-พอเราจะอัพเกรด ก็เหมือนข้อบน เคยทำแล้ว ก็ง่ายขึ้น
-ชิ้นส่วนเราซื้อมาทุกอัน มั่นใจได้เลยว่า สเปกตรงตามที่เราซื้อมา เพราะประกอบเอง ไม่ต้องกลัวร้านแอบเปลี่ยน ยกเว้นร้านที่ซื้อเอามาผิดหรือตั้งใจเอามาผิดนะครับ อิอิ
-เวลาเราทำเสร็จแล้ว และเปิด เข้าไบออสได้ ทุกอย่างทำงาน มันมีความรู้สึกแบบ โอ้จ๊อด มันยอดมาก มันจะให้ความรู้สึกภูมิใจสุดๆ(ผม…จำการประกอบเครื่องคอมเครื่องแรกของผมได้ดี

ข้อเสีย ก็มีนะ คือ
-บางครั้ง การประกอบไม่ดีพอ สายไฟรกรุงรัง อุปกรณ์บางตัวใส่ไม่แน่น
-ถ้าเกิดเราประกอบ แล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้น เช่น บอร์ดหล่น ฮาร์ดดิกส์หล่น เรารับเต็มๆ กับความผิดพลาด เช่น อาจจะเปลี่ยนไม่ได้เพราะมีร่องรอยที่เกิดจากความเสียหาย แต่ถ้าไม่มีรอย เนียนอยุ่ ก็รอดไปครับ
-อาจจะเสียบสายไฟ หรืออุปกรณ์ผิด จนเกิดความเสียหาย
-เสียเวลา (แต่ได้ประสบการณ์นะเออ)
-อาจได้รับบาดเจ็บ จากเครื่องมือ หรือวัสดุเครื่องมือมีคม

เอาละ คิดไม่ออกแล้ว ว่ามีข้อดี-เสียอะไรบ้าง ฝอยมามากนึกไม่ออก ใครที่อยากจะประกอบเอง ชมต่อครับ

เริ่มแรก!!
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ต้องเอามาประกอบ มีอะไรบ้าง!!

จากภาพเลยครับ ที่ต้องมี คือ
-เมนบอร์ด(แผงวงจรใหญ่ๆมีสล็อตส้มๆเหลืองๆ)พร้อมฝาหลังเคส ฝาหลังวางอยุ่ตรงหลังพัดลมCPU
-CPU(ชิพสีเงินๆ ใกล้พัดลม)
-พัดลมระบายความร้อนCPU(จะมาพร้อมCPU)
-แรม แผงเขียวๆวางติดกัน 2 อัน ในที่นี้เป็น512*2 บัส533
-ซีดีรอมไดร์ฟ หรือ ดีวีดีไรท์เตอร์ไดร์ฟ (ขวามือ หน้ากากสีดำ ตัวเทาๆ)
-ฮาร์ดดิกส์ไดร์ฟ (วางอยุ่บนดีวีดีไรท์เตอร์ไดร์ฟ)
-สายสัญญาณ SATA ตามจำนวนฮาร์ดดิกส์ ในที่นี้ มี2เส้น เพราะHDDและ DVD-RW drive ใช้สายSATAครับ แต่ถ้าHDDหรือ ไดร์ฟDVDเป็นสายแบบ IDE ก็ต้องสายแบบIDEนะครับ(ยกเว้นใช้ตัวแปลงSATA>>IDE)
-น็อตสกรู น็อตทองที่ใช้ยึดรองเมนบอร์ด แผ่นแหวนรองน็อตสีแดงๆ น็อตนี้ จะได้มาเยอะพอสมควร โดยจะได้มาจากเคส
-อีกอย่าง นอกภาพ คือ เคส-เพาเวอร์ซัพพลาย
!!ถ้าเคสจำพวก Full tower มี่ยี่ห้อ เช่นraidmax หรือ cooler master/Thermaltake ไรพวกนี้ มักจะไม่มีเพาเวอร์มาให้ เพราะออกแบบมาใช้กับคอมระดับ advance ที่ใช้พลังงานสูง โดยเราต้องเลือกซื้อเพาเวอร์มาใช้เอง
!!ถ้าเคสที่ซื้อ มีเพาเวอร์อยุ่แล้ว สามารถซื้อเพาเวอร์มาเปลี่ยนแทนได้ครับ โดยเพาเวอร์เกรดต่ำ(แบบเดียวกับที่แถมเคสระดับไม่ถึงพัน)ประมาณ3-5ร้อย วัตต์ไฟที่จ่ายได้จะไม่เต็ม เช่นของdtech แบบธรรมดา ของP&A และยี่ห้ออื่นๆเช่นFRND และเกรดกลางๆ(แบบเดียวกับที่แถมเคสระดับพันต้นๆถึง2พัน)ประมาณ6-7ร้อยบาท เช่นของdeluxe แบบธรรมดา ของdtechแบบอย่างดี และระดับสูง ราคาพันว่าขึ้นไป ส่วนใหญ่จะ1500-2000+ครับ เช่นEnemax Thermaltake Enchance Silverstone ครับ แบบหลังเหมาะกับ system ที่ต้องการความสเถียร หรืออุปกรณ์เยอะๆเช่น HDD-กาณืดจอหลายตัว

ต่อมา มาดูเครื่องมือที่ใช้กันบ้าง จากภาพเลยครับ

-ไขควงหัวแฉก คือ อันด้ามแดงครับ (ต้องมี!)
-ไขควงแบน คือ อันด้ามเขียว (มีก็ได้!)
-ชุดไขควงเล็ก 5 ตัว (ไม่/ไม่มีก็ได้)
-คีมปากจิ้งจก อันสีส้มๆ (ต้องมี)
-คีมตัด อันสีน้ำเงินครับ (ไม่จำเป็น แต่ถ้ามีการใช้เข็มขัดรัดสายจะดีกว่ากรรไกร-คัตเตอร์ตัด)
-เข็มขัดรัดสาย ห่อขาวๆ ไม่จำเป็นต้องซื้อมาเยอะขนาดนี้ครับ หาซื้อจากร้านอิเล็กได้ทั่วไป เค้ามีแบ่งขาย
-ซิลิโคน อันนี้แบบธรรมดา หรือจะใช้แบบดีๆก็จะแพงขึ้น เช่นMX-1 Arctic silver ครับ ถ้าไม่OC แบบธรรมดาก็ok แล้วครับ
-บัตรเติมเงิน(พลาสติก)นะครับ บัตรพลาสติก ที่เติมเงินเกมส์ออนไลน์ หรือโทรศัพท์ก็ได้ หรือพวกบัตรเครดิตที่ใช้ไม่ได้แล้ว เอามาปาดซิลิโคนให้บางเป็นหน้าเดียวกัน!
-คัตเตอร์(ไม่ได้มีความจำเป็น เหมาะกับใช้เวลาตัดกรีดห่ออุปกรณ์คอมที่เราแกะกล่องมา)

เริ่มประกอบกันดีกว่า
ยกเคสมาครับ
-เปิดฝาเคส ออกทั้ง 2 ด้าน เพื่อให้ง่ายต่อการประกอบ
tip*ถ้าเคสเป็นน็อตหัวมือหมุน จะง่ายมากครับ

-ต่อมา ตรงแถวหลังเคส จะมีฝาหลัง ติดมาอยุ่แล้วนะครับ ให้เรา เอาออกไป โดยอาจจะเป็นน็อตยึดอยุ่ หรือเป็นแบบที่ เราต้องงอไปงอมาให้มันขาดเอง แล้วแต่เคสครับ
-เรียบร้อยแล้ว ให้ท่านนำ ฝาหลัง ที่มากับเมนบอร์ด มาติดตั้งครับ โดยเกือบทุกรุ่น-ยี่ห้อ ท่านจะต้องดันจากด้านในครับ ใส่ให้ถูกหัวนะครับ ปกติ รูที่เหมือนช่องเสียบลำโพง จะอยู่ช่วงล่างและช่องเสียบเมาส์จะอยู่บนใกล้เพาเวอร์(เคสที่มีเพาเวอร์ด้านบนตามมาตราฐาน)

ต่อมา ให้ท่านลองเอาเมนบอร์ด มาวางดู รูน็อตบนเคสครับ แล้วใส่ตัวน็อตยึดเมนบอร์ดลงไป (ท่านอาจจะไม่ใส่ครบ แต่ใส่อย่างน้อย 4 มุม)

ต่อมา
มาใส่CPUกันครับ โดยการใส่ที่สะดวก คือใส่ซีพียูก่อนลงเคสครับ CPUจะมีสล็อตเฉพาะตัว เอามาใส่กันไม่ได้ เช่น754ใส่939ไม่ได้ AM2ใส่775ไม่ได้
อันนี้ ของAMD socket AM2 /754-939ก็เหมือนกันนะครับ
-เริ่มจาก เอาก้านล็อคขึ้นก่อน
-ใส่ซีพียูลงไปครับ โดยให้ด้าน ลูกศรสีทอง ตรงกับสัญลักษณ์ลูกศรบนsocketครับ
!!อย่าพยายาม กดCPUลงไป เพราะขาจะบิ่นงอครับ และอาจหักได้(หมดประกันนะเออ!)ให้ค่อยๆใส่ลงไปครับ ถ้ากดไม่ลง ลองหันด้านอื่นดู ถ้าใส่ถูกต้อง CPUจะลงไปสุดทุกด้าน และจะไม่ต้องออกแรงมากมายกดCPUลง ดังรูป

-ต่อมา ใส่ซิลิโคนครับ แต่ๆ ถ้าท่านซื้อCPUมาใหม่เอี่ยม ที่ฮีทซิงค์พัดลม จะมีติดมาแล้ว(สีเทาๆ)แต่ถ้าจะใช้ซิลิโคนดีๆ ก็ขูดของที่แถมมาและเช็ดออกให้หมดครับ จากภาพ หยดลงนิดเดียว

-แล้วเอาการ์ดพลาสติก ที่บอกไว้ตอนแรก มาปาดให้ทั่วครับ ถ้าปาดไม่มั่ว ก็เพิ่มทีละนิดครับ
ปาดแล้วจะได้ประมาณนี้

-ต่อมา ใส่พัดลมCPUลงไป เกี่ยวล็อคด้วยครับ ตามภาพ

-แล้วกด ก้านล็อค มาอีกด้านนึง อาจจะต้องออกแรงนิดนึง พอกดถึงอีกด้านสุดแล้วก็พอครับ

-แล้วมาเสียบสายไฟครับ พัดลมใหม่ๆจะเป็นพัดลมที่ควบคุมด้วยสัญญาณพัลล์(PWM)คือมี 4 เส้น ครับความเร็วรอบจะแปรผันตามงานของCPUและอุณหภูมิ

tip*เพื่อให้ดูเรียบร้อย ท่านสามารถ เหน็บสายไฟตามตัวเก้บประจุต่างๆแถวซ็อกเก็ตได้ครับ ไม่ต้องกลัวร้อนละลายครับ บอร์ดบางตัวเช่นM2N-E จะเก็บได้สวยครับ

เอาละ มาของIntelบ้างดีกว่า
พัดลมของintelนั้น จะเป็นแบบซิ้งค์กลมไปกับใบพัดลมเลย และใช้ขาล็อคยึดลงแผ่นบอร์ดเลยตรงๆ ซึ่งจะไม่มีขาล็อคที่บอร์ดครับและตัวCPUปัจจุบันของintelเป็นแบบLGA775
(LGA=Land grid array)ซึ่งขาสัมผัสจะอยู่ที่บอร์ดแทน…ระวังอย่าให้มันงอเชียว ดัดยาก หักง่าย

-เริ่มจาก กดสลักลง ดันออกข้าง มันจะดีดขึ้นมาได้(ไม่ต้องกลัวมันดีดไม่เจ็บ) แล้วยกขึ้น ดังภาพ

-แล้วโยกมาสุดเลยครับ เสร็จแล้ว เปิดฝาครอบขึ้นจะได้ดังภาพ

-เปิดเรียบร้อย!!

-แล้ว วางCPUลงไปให้ลงล็อคครับ จะมีร่องอยู่ที่CPU ถ้าวางถูกต้อง จะลงไปพอดีเลยไม่มีเกยออกมา

-เสร็จแล้ว ปิดครอบลงครับ

-ต่อมา กดก้านล็อคกับลงมา
!!ถ้าท่านกดก้านล็อค แล้วติดตัวครอบ ให้เช็คดูว่าCPUเกยsocketออกมาหรือไม่ครับ ถ้าCPUใส่ไม่ลงสนิทและท่านฝืนกด CPUและsocketอาจแตกเสียหายได้(หลุดประกันทันที!)

-ใส่เรียบร้อย!!

-ติดตั้งซิลิโคนครับปาดให้เรียบ
เหมือนการติดตั้งของ AMDเลย อันนี้ผมใส่ที่ตัวพัดลมครับ เพราะพื้นที่ที่ซิลิโคนได้แปะจริงๆก็เป็นวงกลมแค่บนพัดลมนั่นและ…

-อ้อ ก่อนใส่ ตรวจดูที่ขาพัดลม ปลายลูกศรจะหันออกข้างนอกครับ ไม่หันเข้าซิ้งค์นะครับ

-สุดท้ายยย ใส่มันลงไป ใช้นิ้วเนี่ยแหละ กดลงไปดัง”กริ้ก” ก็เสร็จแล้ว ตามภาพ…

ต่อมา มาเริ่มกันต่อที่”แรม”
แรมที่ผมนำมาใช้นี้ เป็นแบบ DDR2 (DDR=Double-Data-Rate Synchronous Dynamic Random) เป็นบัส 533 แต่ปัจจุบันต้อง 667นะครับอย่างต่ำ อันนี้คอว่ามันใกล้มือดี เอามาเป็นนายแบบก่อน ผมแนะนำว่า ใส่ยอกเคสดีกว่าครับ

-การใส่แรม ทั้งSD-DDR-DDR2-DDR3 ต้องหันให้ถูกด้านด้วยครับ โดยจะมีร่องกันใส่ผิดเอาไว้ มีบางท่าน ใส่ในเคส แต่ทว่า ด้วยความมองไม่เห็น ก็ยัดๆลงไปผิดด้าน ทั้งๆที่ไม่ลง ทำให้เปิดเครื่องแล้วก็มีควันออกมา ทำให้แรมเสียหาย หรือบอร์ดอาจตามด้วย
การใส่ดูจากภาพเลยครับ
ถูก

ผิด

-ถ้าติดตั้งถูกด้าน ร่อมบนสล็อตและแรมจะตรงกัน ก็เอามือกดลงไปตรงๆครับ แล้วก้านล็อคข้างๆจะเด้งเข้ามาเอง แต่ให้แน่ใจ ใช้นิ้วกดให้เข้าล็อคหน่อยดีกว่าครับ

-มีกี่แถว ก็ทำเหมือนๆกันหมด

ต่อมา มาติดตั้งเมนบอร์ด ที่ประกอบCPU Ramเสร็จแล้ว ลงไปในเคสกัน

อย่างที่เห็นครับ เราเตรียมไว้แล้ววว ทั้งน็อตรองบอร์ด/ฝาหลัง
-นำบอร์ด วางลงไปเลย…

-ตามด้วย ไขน็อตให้เรียบร้อย
!!น็อตรองบอร์ดที่เราใส่ลงไปตอนแรก มี 2 แบบเกลียวนะครับ ถ้าใส่ลงไปแล้วดันลงไปได้แบบไม่ต้องไข หรือ พยายามไขไม่ลง ให้ลองเปลี่ยนน็อตตัวผู้ที่เอามาใช้ดูนะครับ

!!ถ้าท่านฝืนไขลงไป จะเกิดปัญหาคือ..น็อตจะลงไม่ตรงครับและอาจจะไปกดบอร์ดให้งอจนหักได้(อันตรายๆ) จะไขน็อตไม่ออก และเมื่อไขแล้ว เกลียวน็อตจะหักคา หรือจะทำให้ตัวรองบอร์ดหมุนดันบอร์ดให้โก่งงอ

-เมื่อไขน็อตเสร็จแล้ว มาเพ่งกันที่คอนเน็กเตอร์ที่มุมล่างของบอร์ด มันคือ front panel connector หรือ จุดเชื่อมต่อปุ่มต่างๆและไฟสถานะ!

ซึ่งพอร์ทส่วนใหญ่ ที่เราจะต่อไปหน้าเคส มักจะเป็น
-Power LED สถานะสีเขียวหรือฟ้าบอกการทำงานเครื่อง ว่าเปิด /stanby
-HDD LED สถานะสีส้มหรือแดง บอกการอ่านเขียนของฮาร์ดดิกส์/ไดร์ฟต่างๆครับ(แล้วแต่เมนบอร์ด)
-power switch ไม่เสียบไม่ได้!
-reset ใช้รีเครื่อง…
-USB ใช้พอร์ทUSBผ่านหน้าเครื่อง
-eSata มไม่ค่อยมีนักครับ ส่วนใหญ่จะเคสแพงๆ และไม่ค่อยได้ใช้กันด้วย
-audio mic อันนี้หลายคนใช้ครับ

-งานนี้ ควรใช้คู่มือของเมนบอร์ด ช่วยนะครับ เพราะว่าส่วนมาก บนเมนบอร์ดจะไม่บอกรายละเอียดมานัก เช่นPower LED ไม่บอก+ – เป็นต้น
-บางครั้ง สวิตช์เปิดปิด(Power SW)/รีเซ็ท(Reset SW)บอกขั้ว+ – ในเมนบอร์ด ไม่ต้องสนใจครับ เสียบๆไปเถอะ

-ถ้าท่านใช้ซาวด์ออนบอร์ด และใช้หูฟัง เสียบลงไปที่เมนบอร์ดด้วยครับ ปกติจะเป็น FP_Audioครับ
Tip*บางครั้ง มีหัวเสียบแบบ HD และแบบAC97มาให้ ดูก่อนครับ ว่าเราใช้ซาวด์แบบไหน แต่ปัจจุบัน ของC-media/realtek จะเป็น HD ครับ แต่ถ้าไม่ใช้คุณสมบัติ HD โดยปิดในไบออสเป็นAC97ก็เสียบAC97นะครับ

-ในบางกรณี หัวเสียบของเคส ไม่สามารถเสียบลงบนเมนบอร์ดได้แบบปกติ… เช่น หัวไม่ตรงกัน จะทำอย่างไรดี…………..ให้ท่านหา เข็มหมุดมา 1 อันครับ นำมายัดเข้าไปตรงล็อคของสายสัญญาณ งัดขึ้น แล้วดึงสายออกครับ อย่างัดมากนะครับ เดี๋ยวจะหักเอา

-หัวสายที่ถอด…

-สายหน้าเคสเสร็จ มาปวดกัวกับสายUSBกันต่อ!
-การเรียงสาย ตามนี้เลยครับ

-เมื่อเสียบเรียบร้อยแล้ว…

ต่อมา ใส่ไดร์ฟต่างๆ เสียบสายสัญญาณและสายไฟกัน
-ใส่HDD และ DVDRwเข้าไป ใส่น็อตให้เรียบร้อยครับ ควรใส่ทั้ง 2 ด้านของไดร์ฟเลย

-ต่อมา เก็บสายSATA ที่เสียบกับHDDครับ
มี 2 แบบคือ
1 มัดเกรียวกับไขควงหัวแฉก

2 อ้อมไปหลังหน้าเครื่อง ออกอีกด้านก็ได้

-ถ้าใช้สายIDE ก็ตั้ง jumper และเสียบสายให้ถูกด้วยครับ
จากภาพ
-ซ้ายสุดที่มีจัมเปอร์อยู่ คือ cable select จะทำงานโดยกำหนดตำแหน่งไดร์ฟตามายที่เราเสียบให้มัน(ไม่แนะนำให้ตั้งเหมือนกัน 2 ตัวถ้าเสียบไดร์ฟ 2 ตัวนั้นบนสายเดียวกัน)
-กลางคือ Slave เป้นตำแหน่งไดร์ฟตัวรอง(Device1)เสียบกับกลางสายIDE
-ขวาสุด คือ Master เป็นตำแหน่งตัวหลักบนสายนั้น(Device0)เสียบปลายสายIDE

-สายIDEอันไหน ตำแหน่งไหน ดูเลย!!

-เสร็จแล้ว ต่อสายเพาเวอร์ลงบอร์ดครับ เมนบอร์ดปัจจุบันนี้ จะเอา 2 ชุดคือ ชุดแรก หัวเพาเวอร์หลัก มี20พิน หรือATX2.0จะมี 24พิณครับ และอีกหัว คือหัว4พิณ เป็นไฟCPUบางบอร์ดมีเป็น8พิณ ไม่ต้องกลัว เสียบไปแค่4ก็”ด้ครับ ถ้าเพาเวอร์มีแค่4 และบอร์ดบางอัน เช่นเมนบอร์ดSLI ที่ใส่การ์ดจอของNvidia มากว่า1ตัว หรือบอร์ดCrossfire ที่ใส่การ์ดจอ ATiมากกว่า1 (บางบอร์ด)จะมีหัวMolex 4พิณ ด้วยครับ เสียบด้วย แตไม่เสียบก็ไม่เป็นไร แต่ตามผู้ผลิตแนะนำ ถ้าใช้การ์ดจอมากกว่า 1 ควรเสียบด้วย

-และก็ต่อสายไฟของ HDD และ DVDRWด้วย รวมถึงสายไฟพัดลมของเคส

-และเก็บสายไฟให้เรียบร้อยครับ (ยังไม่จำเป้นตอนนี้ แต่เมื่อท่านเอาเครื่องไปลองเสียบปลั้ก เปิดได้สมบูรณ์แล้ว ค่อยเก็บก็ได้ จะได้ไม่เสียเวลามานั่งรื้อถ้ามีปัญหา…)

และแล้วก็………….ก็………ก็เสร็จแล้วครับ กับเครื่องที่เรานั่งประกอบกันอย่างสนุกสนาน(รึเปล่า) ต่อไปก็ลองเสียบจอ-เมาส์-คีย์บอร์ด-ลำโพง และเปิดเทสดูครับ

ต่ออีกนิดๆ

ลืมเรื่องการใส่การ์ดเสริมลงไปครับ หลังจากลงอุปกรณ์อื่นๆเสร็จหมดแล้ว (สำหรับการ์ดจอยาวๆเช่น8800GTX 8800Ultra 9800GTX 9800GX2 HD3850/3870 HD3870X2 ควรถอดฮาร์ดดิกส์ออกก่อน หรือใส่ก่อนใส่ฮาร์ดดิกส์ ท่านจะใส่ได้ง่ายขึ้น)
วิธีใส่การ์ดเสริมต่างๆเช่น ซาวด์การ์ด-โมเด็ม-การ์ดIDE/SATA-การ์ด TV-การ์ดจอ ทำดังนี้(แบบสั้นๆไม่มีภาพนะครับ)
-ดูตำแหน่งสล็อตที่จะใส่ และดูตำแหน่งของฝาปิดหลัง
-ถอดฝาหลังก่อน แล้วแต่เคส อาจจะเป็นตัวล็อคพลาสติกกดขึ้นแล้วเอาฝาออก/แบบบิดไปบิดมาให้หลุด ถ้าแบบนี้ ควรบิตค่อยๆระวังหลุดกระแทกเมนบอร์ดนะครับ และแบบไขน็อต ซึ่งง่ายที่สุด ไขออกแถมฝาแบบนี้ยังเอากลับมาใช้ใหม่ได้ด้วย
-ใส่การ์ดลงไปเลยครับ กดลงไปตรงๆถ้าติดตรงด้านเคส ให้ขยับซ้ายขวาหน้าหลังเดี๋ยวก็ลงเอง
-การ์ดบางประเภท ต้องต่อไฟเพิ่ม เช่น การ์ดฟิสิกซ์ การ์ดจอรุ่นกลาง-สูง ถ้าไม่มีหัว6พิณมาจากเพาเวอร์ ปกติจะมีสายแปลงจากหัวmolex 4พิณเป็นหัวPCI-Eพิณมาครับ
-เสร็จแล้วไขน็อต/กดตัวล็อตที่เคสให้เรียบร้อยครับ

—————-
เมนบอณ์ดที่ผมใช้ ชาวAMDคุ้นเคยกันดี มันคือ Alive NF7G-HD720p รุ่นน้องของ NF6G-VSTAนั่นเอง!
ตัวนี้ มีVGA onboard มาด้วยครับ และด้วยเหตุนี้ มันจึงมี”ความร้อนขณะทำงาน”สูง พอสมควร นากลัวครับ~*~

ผมเลยจัดการ เปลี่ยนฮีทซิงค์มันซะใหม่ จะต้องทำยังไงบ้าง ดูกันครับ
-ต้องมี พัดลมการ์ดจอ ความกว้างไม่เกิน 4.5 เซนติเมตรครับ เพราะจะบังรูน็อตและจะติดอุปกรณ์รอบข้าง
-พัดลม ต้องมีเดือยล็อคมาด้วย ถ้าจะไปหาซื้อ แนะนำ ถอดของเดิมไปหาซื้อด้วยเลย
-พัดลมเป็นแบบ 12.VDCนะครับ
-ค่อยๆทำ ระวัง เพราะบนชิพNvidia MCPนี้ เป็นแบบคอร์คล้ายกราฟฟิกการ์ด

การเปลี่ยน เริ่มจากกก
-ถ้ายังไม่ประกอบบอร์ดลงเคส ก็รอดไปครับ(ลืมโพสไว้บนๆ แต่ดูท่าว่าจำนวนอักษรจะเกินโพสน่ะครับ)
-ที่ใต้เมนบอร์ด จะเห็นสลักเดือยของซิงค์เดิมอยุ่

-ต่อมา ให้ท่าน บีบ ตรงตัวล็อคของมันครับ พร้อมๆกับพยายามกดลงไป

-และมันจะหลุดลงไป เราก็ดันมันลงไปครับ ทำแบบเดียวกับอีกอัน ขอย้ำ ค่อยๆทำ

-หลุดแล้ว!

-แล้วเช็คซิลิโคนเดิมออกให้หมด เอาแอลกอฮอล์ล้างเล็บช่วยก็ได้ จะได้เห็นหน้าตา MCP630A Gefocre7050PV ใสปิ้ง

-ทาซิลิโคน อันนี้ จะหยดลงไปประมารหัวไม้ขีด แล้วไม่ปาดให้เรียบก็ได้ แต่ผมปาดครับ

-ติดตั้งซิงค์พัดลมอันใหม่ลงไป (สติกเกอร์บนใบพัดเห่ยมาก ลอกทิ้งซะเลย)

-แล้วกดตัวล็อคลงไปทั้ง 2 ด้าน ให้ดังกริ้ก หรืออาจไม่ดัง ลองดึงๆดูถ้ามันแน่นแล้วก็ok ครับ

-แล้วเสียบสายไฟ ลงไปที่ขั้ว SystemFan เลยครับ แนะนำว่า หาคัตเตอร์ กรีดพลาสติกที่ขั้วสายไฟพัดลมก่อนเสียบ

-เสร็จแล้ว เก็บสายไฟซะหน่อยไม่ให้เกะกะครับ สติกเกอร์ไบออสเกะกะ ลอกไปแปะอีกที่ซะเลย

http://www.overclockzone.com/

1 thoughts on “การประกอบคอมพิวเตอร์

ใส่ความเห็น